ฝ่ายสัมพันธมิตรบุก ค.ศ. 1944–1945 ของ สงครามแปซิฟิก

การต่อสู้ที่ฟิลิปปินส์

ดูบทความหลักที่: ยุทธนาวีที่ทะเลฟิลิปปิน
ดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์หลังจากญี่ปุ่นได้พ่ายแพ้ต่ออเมริกา

ในปี ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นพยายามทุกหนทางเพื่อที่จะตัดกำลังของฝ่ายสัมพันธมิตร แต่สหรัฐอเมริกาก็ได้สู้กับญี่ปุ่นอย่างเต็มที่เพื่อที่จะยึดฟิลิปปินส์กลับคืนมา ยุทธนาวีทะเลฟิลิปปินส์ถือเป็นยุทธนาวีเรือบรรทุกอากาศยานครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ เป็นการสู้รบระหว่างสหรัฐอเมริกาและจักรวรรดิญี่ปุ่น เป็นส่วนหนึ่งของสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก การรบเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 19–20 มิถุนายน ค.ศ. 1944 นอกชายฝั่งของหมู่เกาะมาเรียนาและยังเกี่ยวข้องกับสนามบินญี่ปุ่นบนแผ่นดิน การรบก่อเกิดความเสียหายต่อจักรวรรดิญี่ปุ่นโดยสูญเสียเรือบรรทุกอากาศยาน 3 ลำและเครื่องบิน 600 ลำซึ่งฝ่ายสหรัฐเรียกมันว่า Great Marianas Turkey Shoot ความสูญเสียอย่างใหญ่หลวงน่าจะเกิดมาจากความล้าสมัยของเครื่องบินญี่ปุ่นและความขาดประสบการณ์ของนักบิน (นักบินที่มีประสบการณ์ส่วนใหญ่ตายในการทัพกัวดาลคาแนล ยุทธนาวีมิดเวย์ และการรบอื่น) ตรงกันข้ามกับกองทัพเรือสหรัฐฯที่มีเครื่องบินขับไล่ กรัวม์แมน F6F เฮลแคท อันทันสมัย นักบินได้รับการฝึกอย่างดีและมีประสบการณ์มาก และมีเรดาร์ตรวจสอบชี้ทางในการบินลาดตระเวนรบ ในที่สุดพลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์จำนวน 200,000 นายและยึดฟิลิปปินส์ได้สมบูรณ์

จากเลย์เตสู่ซามาร์

เรือประจัญบานมุซาชิโดนถูกทิ้งระเบิดจากอากาศยานอเมริกาและจมในยุทธนาวีที่อ่าวเลย์เต

ก่อนที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์จะยกพลขึ้นบกที่เลย์เตประเทศฟิลิปปินส์ กองเรือของญี่ปุ่นได้พยายามต่อสู้เพื่อขัดขวางสหรัฐอเมริกาที่จะยึดฟิลิปปินส์แต่ก็ถูกอากาศยานของอเมริกาโจมตีอย่างหนักทำให้ญี่ปุ่นเสียเรือรบไปจำนวนหนึ่งและหนึ่งในนั้นก็คือเรือประจัญบานมุซาชิได้ถูกจมลงไปยังทะเลซิบูยัน

แต่หลังจากที่พลเรือเอกดักลาส แมกอาเธอร์ได้ยกพลขึ้นบกที่ฟิลิปปินส์แล้ว ญี่ปุ่นจึงคิดแผนการขึ้นมาแผนนี้มีชื่อว่า"โชโก"โดยมีแผนก็คือหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ของพลเรือเอกบูล ฮอลซีย์ให้ผละออกไปและทำลายกองกำลังทางบกของแมกอาเธอร์ด้วยเรือรบของญี่ปุ่น วันที่ 25 ตุลาคม ค.ศ. 1944 ญี่ปุ่นเริ่มแผนการโชโกโดยการเข้าโจมตีซามาร์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเกาะเลย์เต ในช่วงแรกกองเรือของญี่ปุ่นสามารถหลอกล่อให้กองเรืออเมริกาที่ 3 ให้ผละออกไปได้แล้วเปิดน่านน้ำให้ญี่ปุ่นเข้าสู่เลย์เต แต่ทว่าในเวลาต่อมากองเรือญี่ปุ่นก็ได้เจอกองเรือแทฟฟี่ 3ซึ่งเป็นหน่วยปฏิบัติการย่อยของกองเรืออเมริกาที่ 7 ซึ่งในกองเรือแทฟฟี่ 3 มีเรือพิฆาต เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็กและเรือขนส่งเสบียง ต่อมาญี่ปุ่นเปิดฉากยิงกองเรือแทฟฟี่ 3 พลเรือตรีคลิฟตัน สเปรคผู้บัญชาการกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้ต่อสู้อย่างเต็มที่เพื่อปกป้องทหารอเมริกัน 200,000 นายบนเกาะเลย์เต ซึ่งเรียกการต่อสู้ครั้งนี้ว่ายุทธนาวีที่ซามาร์ ผลปรากฏว่าสหรัฐอเมริกาเป็นฝ่ายชนะโดยกองเรือแทฟฟี่ 3 ได้จมเรือลาดตระเวนญี่ปุ่น 3 ลำ แต่กองเรือแทฟฟี่ 3 ต้องสูญเสียเรือพิฆาต 3 ลำ เรือบรรทุกเครื่องบินขนาดเล็ก 2 ลำและอากาศยานอีก 23 ลำ ทำให้กองเรือญี่ปุ่นต้องถอยกลับไป

ที่น่าสนใจก็คือศึกครั้งนี้ญี่ปุ่นได้เริ่มใช้แผนที่ชื่อว่า"กามิกาเซ่หรือหน่วยบินพลีชีพ โดยใช้เครื่องบินเข้าพุ่งชนเรือรบของอเมริกา ตัวอย่างเช่น ในยุทธนาวีที่ซามาร์ฝูงบินกามิกาเซ่ได้จมเรือบรรทุกเครื่องบินคุ้มกันขนาดเล็ก ยูเอสเอส เซนต์โล(CVE-63)ซึ่งทำให้สหรัฐอเมริกาตกตะลึงกับวิธีที่แปลกๆของญี่ปุ่น

ใกล้เคียง

สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง สงครามเวียดนาม สงครามกลางเมืองอเมริกา สงครามอ่าว สงครามเกาหลี สงครามเย็น สงครามจีน–ญี่ปุ่นครั้งที่สอง สงครามแปซิฟิก สงครามครูเสด

แหล่งที่มา

WikiPedia: สงครามแปซิฟิก http://www.awm.gov.au/atwar/remembering1942/singap... http://books.google.ca/books?id=SLfti-Dc1AcC&pg=PA... http://worldwar2database.com/html/china.htm http://www.chinfo.navy.mil/navpalib/ships/carriers... http://www.history.navy.mil/faqs/faq81-1.htm http://web.archive.org/web/20070612040835/http://w... http://www.ibiblio.org/hyperwar/PTO/IMTFE/IMTFE-5a... http://www.ibiblio.org/pha/ http://www.ibiblio.org/pha/policy/1941/411208c.htm... http://www.ibiblio.org/pha/timeline/411209awp.html